วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้สำหรับครู



........คำว่า "เทคโนโลยี”(Technology) มาจากรากศัพท์ "Technic" หรือ "Techno" ซึ่งมีความหมายว่า วิธีการ หรือการจัดแจงอย่างเป็นระบบ รวมกับ "logy" ซึ่งแปลว่า ศาสตร์หรือ วิทยาการดังนั้น คำว่า "เทคโนโลยี" ตามรากศัพท์จึงหมายถึง ศาสตร์ว่าด้วยวิธีการหรือศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดการ หรือการจัดแจงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดระบบใหม่และเป็นระบบที่สามารถนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ที่ตั้งใจไว้ได้ ซึ่งก็มีความหมายตรงกับความหมายที่ปรากฏในพจนานุกรม คือ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ดังนั้น เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นการจัดแจงหรือการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพมาใช้ในกระบวนการของการศึกษา ซึ่งเป็นพฤติกรรมศาสตร์ โครงสร้างมโนมติของเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องประกอบด้วย มโนมติทางวิทยาศาสตร์กายภาพ มโนมติทางพฤติกรรมศาสตร์ โดยการประสมประสานของมโนมติอื่นที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น การประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพทางวิศวกรรมและทางเคมีได้เครื่องพิมพ์และหมึกพิมพ์ สามารถผลิตหนังสือตำราต่างๆ ได้ และจากการประยุกต์หลักพฤติกรรมศาสตร์ทางจิตวิทยา จิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้และหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้ได้เนื้อหาในลักษณะเป็นโปรแกรมขั้น ย่อย ๆ จากง่ายไปหายาก เมื่อรวมกันระหว่างวิทยาศาสตร์กายภาพและพฤติกรรมศาสตร์ในตัวอย่างนี้ ทำให้เกิดผลิตผลทางเทคโนโลยีการศึกษาขึ้น คือ "ตำราเรียนแบบโปรแกรม"



บทที่ 4 เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวัน



<<< We ArE .. .*MVP* >>>


การใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน


ใน ยุคนี้คงจะไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้เลยว่าเทคโนโลยีไม่มีความจำเป็นสำหรับการ ดำเนินชีวิตของมนุษย์ เพราะทุกคนล้วนใช้เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตในทุก ๆ ด้าน ตั้งแต่การตื่นนอนจนถึงการเข้านอน ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองที่ชีวิตประจำวันมีแต่ความเร่งรีบ ต้องแข่งขันกับเวลา การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานแล้วยังช่วยย่น ระยะเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้สั้นลง

แต่ อย่างไรก็ตาม การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตประจำวันก็เปรียบเสมือนดาบสองคม เพราะในบางครั้งก็นำโทษมาให้แก่มนุษย์ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างที่สามารถเห็นได้ชัดเจนก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องที่เป็นข่าวตามหน้า หนังสือพิมพ์ในเรื่องของการถูกลวงไปข่มขืน โดยสาเหตุหลัก ๆ ของการถูกล่อลวงไปข่มขืน ก็เป็นผลมาจากการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิดซึ่งส่วนใหญ่ก็มาจากการพูดคุยกัน ผ่านทางโปรแกรมการสนทนาออนไลน์(Chat) ที่เมื่อมีการพูดคุยกันก็มีการนัดมาเจอกันและเกิดเหตุการณ์การล่อลวงไปข่ม ขืน เพราะการพูดคุยผ่านการChat นี้เป็นการพูดคุยที่อิสรเสรี ผู้พูดสามารถที่จะพูดคุยอะไรออกไปก็ได้ไม่ว่าจะเป็นความจริงหรือไม่ก็ตาม และนอกจากนี้ก็ยังมีการนำเสนอเวปไซด์ที่เป็นเวปไซด์โป๊ หรือมีการนำเสนอสิ่งที่อนาจารลงในเวปไซด์ และทำให้เป็นการยั่วยุทางอารมณ์ของผู้เล่นจนนำมาสู่การกระทำอันผิดศีลธรรม และเกิดคดีความได้ และจากการที่สื่ออินเตอร์เน็ตเป็นสื่อเสรีไม่มีองค์กรใด ๆ เข้ามาควบคุมดูและจึงทำให้อินเตอร์เน็ตกลายเป็นช่องทางหนึ่งในการติดต่อสื่อ สารกันระหว่างกลุ่มคนที่ไม่หวังดี เช่น กลุ่มก่อการร้าย หรือ กลุ่มคนที่ต้องการก่ออาชญากรรม โดยกลุ่มคนเหล่านี้ก็จะใช้อินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกัน โดยอาจมีเวปไซด์เป็นกลุ่มของตนเอง หรือใช้การส่ง E-mail เป็นทอด ๆ ระหว่างกันและมีการแปลรหัสจากการส่ง E-mail โดยไม่มีใครสามารถที่จะล่วงรู้ได้ และในบางครั้งก็มีคนที่มีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเป็น อย่างดี คนเหล่านี้ก็นำความเก่งกาจของตนเองมาใช้ในทางที่ผิด เช่น การลักลอบขโมยข้อมูลในองค์กรต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ก่ออาชญากรรม เช่น ลักลอบค้นข้อมูลของบริษัทบัตรเครดิต หรือ ธนาคาร หรือข้อมูลบัชญีเงินฝากและATM เพื่อลักลอบนำเงินไปใช้ นอกจากนี้บางครั้งก็มีการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อปล่อยหรือสร้างข่าวที่มีความ บิดเบือน เพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดและสร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชน เช่น ในบางครั้งกลุ่มก่อการร้าย ก็อาจใช้สื่ออินเตอร์เน็ตเพื่อสร้างข่าวบิดเบือน เพื่อจูงใจประชาชนให้มาเข้าร่วมในขบวนการและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการก่อการ ร้าย


นอก จากนี้จากการที่มนุษย์เราพึ่งพาเทคโนโลยีมากจนเกินไป ก็ทำให้เกิดผลเสียแก่ตัวเราได้ด้วยเช่นกัน เพราะการพึ่งพาเทคโนโลยีมากเกินไปจะทำให้คนเราเกิดความเคยชินจากการนำ เทคโนโลยีมาใช้อำนวยความสะดวกในชีวิต จนทำให้บางครั้งเราก็ทำอะไรไม่เป็นไม่สามารถคิดอะไรได้เพราะมีเทคโนโลยีมา ช่วย และอาจส่งผลให้ในอนาคตมนุษย์จะมีความสามารถลดน้อยลง และเทคโนโลยีหรือเครื่องจักรต่าง ๆ ก็จะมีความสำคัญมากกว่ามนุษย์

จาก ที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีมีทั้งประโยชน์และโทษ ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีที่ถูกวิธีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และต้องไม่ใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิดที่จะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อทั้งตน เองและผู้อื่น และในขณะเดียวกันมนุษย์เราก็จะต้องหันกลับมาพึ่งพาตัวเองบ้าง และใช้เทคโนโลยีเฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และในบางครั้งผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองก็ต้องเข้ามาดูแลเด็ก และให้คำแนะนำแก่เด็กด้วยเพื่อไม่ให้เด็กเหล่านี้เข้าไปเสพย์สื่อที่ผิด เบือนและผิดศีลธรรม

บทที่ 3 เทคโนโรยีสำหรับชีววิทยา



การตรวจสอบน้ำด้วยสิ่งมีชีวิต “เทคโนโลยีชีวภาพ” เพื่อสิ่งแวดล้อม
เทคโนโลยีชีวภาพ (อังกฤษ: Biotechnology) คือ เทคโนโลยีที่นำความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ประยุกต์ใช้สิ่งมีชีวิต หรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น เอนไซม์ หรือโปรตีนชนิดต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์กับมนุษยชาติ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตหรือกระบวนการ ของสินค้าหรือบริการ เพื่อใช้ประโยชน์เฉพาะอย่างตามที่เราต้องการ โดยสามารถใช้ประโยชน์ทางด้านต่างๆ เช่น ด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านทางการแพทย์ เป็นต้น
ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพอาจก่อให้เกิด กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ส่งผลให้เกิดกระบวนการสร้าง กระบวนการทำลาย หรือการก่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่ดำเนินอยู่ในสิ่งมีชีวิต ซึ่งกระบวนการ ทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เป็นผลมาจากการทำงานของสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ และหน่วยพันธุกรรมหรือยีน การศึกษางานด้านเทคโนโลยีชีวภาพจึงต้องอาศัยความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับสารพันธุกรรม และพฤติกรรมของสารพันธุกรรม รวมทั้งวิธีการสำคัญต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการด้านเทคโนโลยี ชีวภาพเพื่อการ นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบันประเทศในแถบยุโรปมีวิธีการดูแลและปก ป้องแหล่งน้ำโดยควบคุมและตรวจสอบคุณภาพน้ำด้วยสิ่งมีชีวิต ซึ่งสามารถติดตามสภาพน้ำที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ออกมาจำนวนมาก เช่น อาศัยความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของปลา สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่ในน้ำ และสาหร่าย เป็นต้น ยิ่งเมื่อประสานประสิทธิภาพของ “เครื่องมือตรวจสอบ” ในแหล่งน้ำเหล่านี้กับเทคโนโลยีการประมวลผล และเครื่องมือทางคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ยิ่งทำให้ได้ผลเชื่อถือได้ “เครื่องมือตรวจสอบ” ที่น่าสนใจเหล่านี้เช่น
1. ตรวจสอบคุณภาพน้ำจากการวัดปริมาณการเคลื่อนไหวของปลาเทราต์
นานมาแล้วที่มีการนำปลาเทราต์ โดยเฉพาะตัวเมียมาใช้ในการตรวจสอบมลพิษทางน้ำ แต่เครื่องมือส่วนใหญ่ที่ใช้อยู่สร้างอยู่บนพื้นฐานการใช้โซนาร์ ซึ่งจะมีปฏิกิริยาเมื่อปลาหยุดการเคลื่อนไหว บริษัท CIFEC จึงได้สร้าง Truitel ที่ประกอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์และ การประมวลสัญญาณอัลตราซาวนด์แบบดิจิตอลเพื่อใช้ในการตรวจจับปฏิกิริยาการ เคลื่อนไหวของปลาโดยไม่ต้องรอให้ปลาตาย เครื่องมือดังกล่าวจึงสามารถตรวจจับการปนเปื้อนของสารพิษที่มีปริมาณต่ำกว่า มาก
คลื่นอัลตราซาวนด์จะถูกส่งออกไปเป็นช่วงๆ ในตู้กระจกที่มีปลาเทราต์อยู่ประมาณ 10 ตัว และมีน้ำที่ต้องการตรวจสอบไหลวนอยู่ คลื่นดังกล่าวจะสะท้อนกลับเมื่อปะทะกับสิ่งกีดขวางหรือตัวปลานั่นเอง สัญญาณที่สะท้อนกลับจะถูกบันทึกและขยายด้วยเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งลักษณะของสัญญาณจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของปลา เมื่อนำสัญญาณที่บันทึกมาเปรียบเทียบกัน ก็จะสามารถบอกปริมาณการเคลื่อนที่ของปลาได้
ในกรณีที่ปลาไม่ได้เคลื่อนไหว สัญญาณที่สะท้อนกลับมาจะเหมือนกัน และเมื่อนำสัญญาณสะท้อนกลับสองอันมาเทียบกันก็จะมีความแตกต่างของปลา จากนั้นจะมีการนำสัญญณไปวิเคราะห์โดยแบ่งเป็นแถบความถี่สี่เส้นที่สามารถ ปรับความไวต่อการเคลื่อนไหวได้ ปริมาณการเคลื่อนไหวของปลาจะดูได้จากเส้นกราฟิกบนจอคริสตัลเหลว อุณหภูมิของน้ำจะถูกวัดตลอดเวลาและมีเสียงสัญญาณเตือนถ้าน้ำมีอุณหภูมิสูง หรือต่ำเกินไป อุปกรณ์ตรวจจับความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะไม่มีปฏิกิริยาต่อคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าที่ออกมาจากอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ปั๊มน้ำ หลอดไฟฟ้านีออน โทรศัพท์ หรือ เครื่องปรับความถี่ 

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 1เทคโนโรยีสาระสนเทศ







ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา





วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

บทที่ 2 ความหมายของเทคโนโรยีสาระสนเทศ

.......คำว่า "เทคโนโลยี”(Technology) มาจากรากศัพท์ "Technic" หรือ "Techno" ซึ่งมีความหมายว่า วิธีการ หรือการจัดแจงอย่างเป็นระบบ รวมกับ "logy" ซึ่งแปลว่า ศาสตร์หรือ วิทยาการดังนั้น คำว่า "เทคโนโลยี" ตามรากศัพท์จึงหมายถึง ศาสตร์ว่าด้วยวิธีการหรือศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดการ หรือการจัดแจงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดระบบใหม่และเป็นระบบที่สามารถนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ที่ตั้งใจไว้ได้ ซึ่งก็มีความหมายตรงกับความหมายที่ปรากฏในพจนานุกรม คือ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ดังนั้น เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นการจัดแจงหรือการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพมาใช้ในกระบวนการของการศึกษา ซึ่งเป็นพฤติกรรมศาสตร์ โครงสร้างมโนมติของเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องประกอบด้วย มโนมติทางวิทยาศาสตร์กายภาพ มโนมติทางพฤติกรรมศาสตร์ โดยการประสมประสานของมโนมติอื่นที่เกี่
ยวข้อง ตัวอย่างเช่น การประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพทางวิศวกรรมและทางเคมีได้เครื่องพิมพ์และหมึกพิมพ์ สามารถผลิตหนังสือตำราต่างๆ ได้ และจากการประยุกต์หลักพฤติกรรมศาสตร์ทางจิตวิทยา จิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้และหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้ได้เนื้อหาในลักษณะเป็นโปรแกรมขั้น ย่อย ๆ จากง่ายไปหายาก เมื่อรวมกันระหว่างวิทยาศาสตร์กายภาพและพฤติกรรมศาสตร์ในตัวอย่างนี้ ทำให้เกิดผลิตผลทางเทคโนโลยีการศึกษาขึ้น คือ "ตำราเรียนแบบโปรแกรม"