การตรวจสอบน้ำด้วยสิ่งมีชีวิต “เทคโนโลยีชีวภาพ” เพื่อสิ่งแวดล้อม
เทคโนโลยีชีวภาพ (อังกฤษ:
Biotechnology) คือ
เทคโนโลยีที่นำความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ประยุกต์ใช้สิ่งมีชีวิต
หรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น
เอนไซม์ หรือโปรตีนชนิดต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์กับมนุษยชาติ
ไม่ว่าจะเป็นการผลิตหรือกระบวนการ ของสินค้าหรือบริการ
เพื่อใช้ประโยชน์เฉพาะอย่างตามที่เราต้องการ
โดยสามารถใช้ประโยชน์ทางด้านต่างๆ เช่น ด้านการเกษตร ด้านอาหาร
ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านทางการแพทย์ เป็นต้น
ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพอาจก่อให้เกิด
กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ
ส่งผลให้เกิดกระบวนการสร้าง กระบวนการทำลาย
หรือการก่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่ดำเนินอยู่ในสิ่งมีชีวิต ซึ่งกระบวนการ
ทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
เป็นผลมาจากการทำงานของสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ และหน่วยพันธุกรรมหรือยีน
การศึกษางานด้านเทคโนโลยีชีวภาพจึงต้องอาศัยความรู้พื้นฐาน
เกี่ยวกับสารพันธุกรรม และพฤติกรรมของสารพันธุกรรม
รวมทั้งวิธีการสำคัญต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการด้านเทคโนโลยี
ชีวภาพเพื่อการ นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบันประเทศในแถบยุโรปมีวิธีการดูแลและปก
ป้องแหล่งน้ำโดยควบคุมและตรวจสอบคุณภาพน้ำด้วยสิ่งมีชีวิต
ซึ่งสามารถติดตามสภาพน้ำที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีประสิทธิภาพ
มีการพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ออกมาจำนวนมาก เช่น
อาศัยความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของปลา
สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่ในน้ำ และสาหร่าย เป็นต้น
ยิ่งเมื่อประสานประสิทธิภาพของ “เครื่องมือตรวจสอบ”
ในแหล่งน้ำเหล่านี้กับเทคโนโลยีการประมวลผล
และเครื่องมือทางคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ยิ่งทำให้ได้ผลเชื่อถือได้ “เครื่องมือตรวจสอบ” ที่น่าสนใจเหล่านี้เช่น
1. ตรวจสอบคุณภาพน้ำจากการวัดปริมาณการเคลื่อนไหวของปลาเทราต์
นานมาแล้วที่มีการนำปลาเทราต์
โดยเฉพาะตัวเมียมาใช้ในการตรวจสอบมลพิษทางน้ำ
แต่เครื่องมือส่วนใหญ่ที่ใช้อยู่สร้างอยู่บนพื้นฐานการใช้โซนาร์
ซึ่งจะมีปฏิกิริยาเมื่อปลาหยุดการเคลื่อนไหว บริษัท CIFEC จึงได้สร้าง
Truitel ที่ประกอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์และ
การประมวลสัญญาณอัลตราซาวนด์แบบดิจิตอลเพื่อใช้ในการตรวจจับปฏิกิริยาการ
เคลื่อนไหวของปลาโดยไม่ต้องรอให้ปลาตาย
เครื่องมือดังกล่าวจึงสามารถตรวจจับการปนเปื้อนของสารพิษที่มีปริมาณต่ำกว่า
มาก
คลื่นอัลตราซาวนด์จะถูกส่งออกไปเป็นช่วงๆ
ในตู้กระจกที่มีปลาเทราต์อยู่ประมาณ 10 ตัว
และมีน้ำที่ต้องการตรวจสอบไหลวนอยู่
คลื่นดังกล่าวจะสะท้อนกลับเมื่อปะทะกับสิ่งกีดขวางหรือตัวปลานั่นเอง
สัญญาณที่สะท้อนกลับจะถูกบันทึกและขยายด้วยเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
ซึ่งลักษณะของสัญญาณจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของปลา
เมื่อนำสัญญาณที่บันทึกมาเปรียบเทียบกัน
ก็จะสามารถบอกปริมาณการเคลื่อนที่ของปลาได้
ในกรณีที่ปลาไม่ได้เคลื่อนไหว
สัญญาณที่สะท้อนกลับมาจะเหมือนกัน
และเมื่อนำสัญญาณสะท้อนกลับสองอันมาเทียบกันก็จะมีความแตกต่างของปลา
จากนั้นจะมีการนำสัญญณไปวิเคราะห์โดยแบ่งเป็นแถบความถี่สี่เส้นที่สามารถ
ปรับความไวต่อการเคลื่อนไหวได้
ปริมาณการเคลื่อนไหวของปลาจะดูได้จากเส้นกราฟิกบนจอคริสตัลเหลว
อุณหภูมิของน้ำจะถูกวัดตลอดเวลาและมีเสียงสัญญาณเตือนถ้าน้ำมีอุณหภูมิสูง
หรือต่ำเกินไป
อุปกรณ์ตรวจจับความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะไม่มีปฏิกิริยาต่อคลื่นแม่เหล็ก
ไฟฟ้าที่ออกมาจากอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ปั๊มน้ำ หลอดไฟฟ้านีออน โทรศัพท์ หรือ
เครื่องปรับความถี่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น